วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ดีไซเนอร์ที่ชอบบ





Alan Fletcher

คือผู้บุกเบิกของอุตสาหกรรมการออกแบบ graphic ในประเทศอังกฤษ เขาเกิดที่เคนยา และได้ย้ายมาอยู่ที่อังกฤษกับแม่ หลังจากพ่อเสียชีวิต โดยอาศัยอยู่ในย่านตะวันตกของกรุงลอนดอน เขาได้เข้าเรียนในโรงเรียนประจำในปี1939 และต่อมาก็ได้ตัดสินย้ายมาเรียนที่ Hammersmith School of Art เป็นวิทยาลัยที่ดีเลิศทางด้านศิลปะ และ Central School เขาได้พบกับ Colin Forbes และ Theo Crosby หลังจากเรียนจบที่ Central School เขาได้ทุนไปเรียนต่อที่ Yale University เขาเลือกเรียนสาขา graphic design และเขาก็ได้แต่งงานกับ Paola Biagi แฟนสาวชาวอิตาลีหลังจากแต่งงาน เขาได้มีโอกาสไปพบกับนักออกแบบที่มีชื่อเสียง เช่น Robert Brownjohn และ Tom Geismar ที่นิวยอร์ก และเขาก็ตัดสินใจทำงานอยู่ที่ลอสแองเจลิส เขาได้ทำงานเป็นผู้ช่วยของนักออกแบบชื่อ Saul Bass อยู่ระยะหนึ่ง เขารักที่จะใช้ชีวิตอยู่ที่อเมริกา แต่ภรรยาของเขาอยากอยู่ในยุโรปมากกว่า เขาจึงตัดสินใจเดินทางกลับลอนดอนแต่ได้ไปแวะพักอาศัยระยะสั้นๆในอิตาลี เขาจึงตัดสินใจทำงานใน Pirelli design studio เพื่อหาเงิน และต่อมาก็พบว่าอังกฤษกำลังตกอยู่ในยุคมืดของวงการออกแบบ เขาจึงย้ายกลับไปที่อเมริกาเพื่อทำงานร่วมกับ Colin Forbes หลังจากนั้นเขาและ Forbes ได้เป็นเพื่อน กับ Bob Gill ร่วมมือกันทำงาน และหลังจากนั้นเขาก็เป็นผู้ก่อตั้ง Fletcher/Forbes/Gill studio ขึ้นในปี 1960 และ Pentagram ในปี 1972


สตูดิโอที่พวกเขาสร้างขึ้นก็เริ่มมีชื่อเสียง แต่ วงการ graphic design ในลอนดอนก็ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เมื่อมีการเข้ามาของนักออกแบบชื่อดังอาทิ เช่น Gill Bob และ Brooks แต่ในปี 1963 Bob Gill ได้ลาออกจากบริษัทไป แต่ก็ได้ Crosby เข้ามาทำงานแทน Alan Fletcher ก็ได้สร้างผลงานที่ยิ่งใหญ่และน่าจดจำออกมามากมาย และยังได้แต่งหนังสือที่เต็มไปด้วยประสบการณ์ที่ผ่านมาและแนวความคิดในการทำงาน เช่น 
Designed to be open at random,The Art of Looking Sideways,Alan Fletcher’s 2001 book เป็นต้น


ตัวอย่างผลงาน




เหตุผลที่ชื่นชอบ Alan Fletcher
เขาเป็นนักออกแบบที่มีสไตล์เป็นของตัวเอง ซึ่งโดดเด่นมาก การคิดงานออกแบบของเขาดูคิดเยอะ แต่ทำน้อย ซึ่งทุกๆ ผลงานน่าทึ่งมาก จนบางทีทำให้เราคิดตามว่า เออ... เขาคิดได้อย่างไร ก็เลยเลือก Alan Fletcher มา ซึ่งในปัจจุบันและอนาคต
ข้าพเจ้าก็อยากจะมีความคิดทางการออกแบบให้ได้อย่าง Alan Fletcher บ้าง แต่คงต้องใช้ความพยายามมากเลยทีเดียว

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ลายเสื้อ...



แนวความคิด : ที่ใช้รูปหัวใจเป็นสื่อเพราะว่า การที่มนุษย์จะช่วยกันรักษาโลกให้คงอยู่อีกนานได้นั้น ต้องอาศัย
ความตั้งใจจริงของมนุษย์ทุกคน 

โครงการ...


1. โครงการ “ซอยสีเขียว” ในนครชิคาโก้

เวลานี้เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญที่อยู่ในความสนใจของคนทั่วไป ล่าสุดโครงการสิ่งแวดล้อมโครงการหนึ่งที่นครชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ที่มีชื่อว่า ซอยสีเขียว อาจกลายเป็นโครงการที่เมืองต่างๆทั่วโลกคิดอยากทำตามอย่างก็เป็นได้
นครชิคาโกเป็นนครใหญ่อันดับต้นๆ ของอเมริกา มีตรอกซอกซอยต่างๆ มากมายราว 13,000 ซอย ระยะทางรวมประมาณ 3 พันกิโลเมตรซึ่งนับเป็นเมืองใหญ่ที่มีระยะทางรวมของซอยต่างๆ ยาวที่สุดในโลก แต่ซอยส่วนใหญ่ไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบท่อน้ำทิ้งหรือท่อระบายน้ำของเมืองนะครับ จึงเกิดน้ำท่วมขังตามซอยได้ง่ายเมื่อ 2 ปีที่แล้ว กองการขนส่งของนครชิคาโกประกาศโครงการซอยสีเขียว คือการปรับปรุงพื้นผิวถนนและลดปริมาณน้ำท่วมขังตามซอยต่างๆ ด้วยการใช้วัสดุปูพื้นถนนใหม่ที่น้ำสามารถซึมผ่านลงไปใต้ดินได้ ซึ่งนอกจากจะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงานแล้ว ยังช่วยลดอุณหภูมิความร้อนภายในเมืองได้ด้วย วัสดุใหม่ที่ว่านี้มีทั้งแบบที่ผสมเป็นยางมะตอยหรือคอนกรีตหรือก้อนอิฐปูพื้นที่น้ำสามารถซึมผ่านผิวได้ถึง 80% อีกทั้งยังมีสีอ่อนที่ช่วยสะท้อนแสงอาทิตย์ ไม่อมความร้อน ซึ่งจะช่วยระบายไอร้อนที่มักจะสะสมอยู่ตามเมืองใหญ่ที่มีตึกรามบ้านช่องและรถยนต์หนาแน่น วัสดุใหม่นี้มีความแข็งแรงทนทานในระดับที่สามารถรองรับน้ำหนักรถบรรทุกหรือรถขนขยะที่วิ่งเข้าออกในซอยได้ดี อย่างไรก็ตาม วัสดุปูถนนแบบใหม่ไม่อาจใช้กับถนนที่รถวิ่งพลุกพล่าน การจราจรคับคั่งได้ เพราะน้ำหนักที่มากเกินไปอาจทำลายพิ้นผิวถนนได้ง่าย
นอกจากนี้ โครงการซอยสีเขียวในนครชิคาโก ยังใช้วัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้และหลอดไฟประหยัดพลังงานมาทำเป็นโคมไฟตามถนน และจะสนับสนุนให้มีพื้นที่สีเขียวเล็กๆ ตามทางเดินในซอยและบนดาดฟ้าหลังคาบ้านต่างๆ มากขึ้น คุณ Janet Attarian หัวหน้าโครงการซอยสีเขียวบอกว่า เพียงแค่ 6 เดือนแรกของการนำวัสดุปูพื้นถนนแบบน้ำซึมผ่านได้มาใช้ ค่าใช้จ่ายในการปูพื้นถนนก็ลดลงถึง 60% และภายในสิ้นปีนี้ จะมีการปรับปรุงพื้นผิวถนนตามซอยต่างๆ อย่างน้อย 62 ซอย
สำหรับท่านผู้ฟังที่สนใจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการซอยสีเขียวในนครชิคาโก สามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ voaspecialenglish.com
____________________________________________________________________________



2. โค้กรับกระแส ‘’สีเขียว‘’ ปรับธุรกิจเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ธุรกิจใหญ่น้อยในโลกต่างกำลังให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อม ไม่เว้นแม้แต่บริษัท โคคา โคล่า จำกัด (โค้ก) ผู้ผลิตน้ำอัดลมรายใหญ่ที่สุดในโลกก็ดำเนินกลยุทธ์การรักษาสิ่งแวดล้อมกับเขาด้วยเช่นกัน
เมื่อไม่นานมานี้ บริษัท โค้ก นอร์ธ อเมริกา จำกัด ประกาศว่าจะทดลองเปลี่ยนขวดบรรจุน้ำอัดลมและน้ำดื่มบรรจุขวดแบรนด์ ดาซานี่ ให้เป็นขวดประเภท แพลนต์บอตเทิล (Plant Bottle) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นภายในปีนี้ และจะเปลี่ยนขวดบรรจุน้ำผสมวิตามินแบรนด์ วิตามินวอเตอร์ ภายในปี 2553
แพลนต์บอตเทิลซึ่งเป็นขวดบรรจุผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ของโค้กยังคงวัตถุดิบที่มาจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม 30% แต่จะมีส่วนผสมของวัตถุดิบจากพืชเช่น ต้นอ้อย และกากน้ำตาล ประมาณ 30% นอกจากนั้นบริษัทก็กำลังทำวิจัยหาวัตถุดิบจากพืชชนิดอื่นๆเข้ามาใช้เป็นส่วนผสมอีกทางหนึ่ง
ปัจจุบันขวดบรรจุเครื่องดื่มของโค้กเป็นพลาสติกที่ผลิตขึ้นมาจากปิโตรเลียม ที่เรียกว่าโพลีเอธิลีน เทเรฟทาเลท (polyethylene terephthalate) หรือขวด เพ็ท (PET) ซึ่งสามารถนำไปรีไซเคิลได้แต่จะมีต้นทุนสูงและมีความซับซ้อนในการดำเนินการ ซึ่งหากไม่นำขวดเพ็ทไปรีไซเคิลมันจะใช้เวลานานมากในการย่อยสลายไปตามธรรมชาติ
ขวดบรรจุเครื่องดื่มชนิดใหม่ที่โค้กกำลังจะทดลองตลาดนี้สามารถนำไปรีไซเคิลได้ ทั้งยังมีราคาในการผลิตเท่าๆกับขวดเพ็ทอีกด้วย
โค้กเป็นหนึ่งในผู้ผลิตสินค้าที่ผลิตขวดพลาสติกออกสู่ตลาดมากที่สุดในโลก สถาบันคอนเทนเนอร์ รีไซคลิง องค์กรไม่หวังผลกำไรเพื่อสิ่งแวดล้อมระบุว่าทุกๆสัปดาห์ลูกค้าของโค้กจะทิ้งขวดเพ็ทประมาณ 1,000 ล้านขวด และมีขวดเพียง 18-23% เท่านั้นที่ถูกนำไปรีไซเคิล นายมุห์ตา เคนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของโค้ก กล่าวว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้าการริเริ่มอย่างสามัญของโค้กจะกลายเป็นคอนเซ็ปต์ของการรีไซเคิลทั้งมวล
นอกจากนั้นโค้กยังได้ร่วมมือกับบริษัท อีคอส คอนซัลติ้ง จำกัด บริษัทที่ปรึกษาแห่งหนึ่งในมลรัฐโอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา จัดตั้งเว็บไซต์ศูนย์ความมั่นคงของทรัพยากรเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต สำหรับร้านอาหารที่จำหน่ายเครื่องดื่มซอฟต์ดริงก์ของโค้กสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้เพื่อลดการใช้พลังงานและทรัพยากรน้ำในการดำเนินธุรกิจของตน
อีคอสได้จัดทำระบบประเมิน 3 ขั้นตอน ที่ช่วยร้านอาหารประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของตนได้ ซึ่งเว็บไซต์ดังกล่าวระบุว่าร้านอาหารเป็นธุรกิจค้าปลีกที่ใช้พลังงานมากที่สุดในโลก โดยเมื่อเทียบอัตราการใช้พลังงานต่อพื้นที่ 1 ตารางฟุต ร้านอาหารจะมีสัดส่วนการใช้พลังงานสูงกว่าอาคารพาณิชย์ทั่วไปถึง 5 เท่า นายเดวิด ไวเกิล รองประธานฝ่ายการตลาดของอีคอส กล่าวว่าในช่วงที่ผ่านมาร้านอาหารและเชนร้านอาหารหลายแห่งได้ขอคำแนะนำจากโค้กในการพัฒนาธุรกิจของตนให้เป็น ธุรกิจสีเขียว
แนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของโค้กและให้ความช่วยเหลือร้านอาหารที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัทให้สามารถดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่น่าจับตามองถึงผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตว่าจะเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและธุรกิจของโค้กได้มากน้อยเพียงใด